วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ลูกบาสเกตบอล (Basketballs)

1 ลูกบอล ต้องเป็นรูปทรงกลมและมีสีส้ม ซึ่งได้รับการรับรอง มี 8 ช่องกลีบ ตามแบบเดิม กรุและเย็บเชื่อต่อกัน

2 ผิวนอกต้องทำด้วยหนัง หนังที่เป็นสารสังเคราะห์ ยาง หรือวัสดุสารสังเคราะห์

3 ลูกบอลจะขยายตัวเมื่อสูบลมเข้าไป ถ้าปล่อยลงสู่พื้นสนามจากความสูงโดยประมาณ 1.80 เมตร วัดจากส่วนล่าง
ของลูกบอล ลูกบอลจะกระดอนขึ้นสูงวัดจากส่วนบนสุดจากของลูกบอลระหว่าง 1.20 เมตร ถึง 1.40 เมตร

4 ความกว้างของช่องกลีบที่เชื่อมต่อกันของลูกบอลต้องไม่มากกว่า 0.635 เซนติเมตร

5 ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 74.9 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 78 เซนติเมตร (ลูกบอลเบอร์ 7) จะต้องมีน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่า 567 กรัม และไม่มากกว่า 650 กรัม

6 ทีมเหย้า (The home team) ต้องเตรียมลูกบอลที่ใช้แล้วโดยได้รับการยินยอมจากผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 ลูก ผู้ตัดสินต้อง
พิจารณาเลือกลูกบอลที่ถูกต้องเพียงลูกเดียว ถ้าลูกบอลทั้ง 2 ลูก (ing team) หรือเลือกลูกบอลที่ใช้ในการอบอุ่นร่างกายมา
ใช้แข่งขันก็ได้

ห่วงประตู (Baskets)

ห่วงประตูต้องประกอบด้วย ห่วงและตาข่าย

1 ห่วง (The Rings) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- วัสดุต้องเป็นเหล็กกล้าแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร ทาด้วยสีส้ม
- โลหะที่ใช้ทำห่วงจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในอย่างน้อย 16 เซนติเมตร และไม่เกิน 2.0 เซนติเมตรพร้อมด้วยที่ยึดตาข่าย
ด้านล่างสำหรับเกี่ยวตาข่ายในลักษณะป้องกันนิ้วมือไปเกี่ยวจากการปัดซึ่งเป็นการป้องกันการยิงประตู
- ตาข่ายจะผูกติดกับห่วงแต่ละด้านในตำแหน่งที่ต่างกัน 12 จุด มีระยะห่างเท่ากันรอบห่วง การผูกติดกันของตาข่ายจะต้อง
ไม่คมหรือมีช่องว่างที่นิ้วมือสามารถเขาไปเกี่ยวได้
- ห่วงจะต้องยึดติดกับโครงสร้างที่ยึดกระดานหลังโดยไม่ทำให้เกิดแรงส่งตรงไปยังห่วงซึ่งไม่สามารถทำให้กระดานหลังสั่น
ด้วยตัวของมันเองดังนั้น จะไม่เป็นการปะทะโดยตรงของห่วงระหว่างสิ่งค้ำที่เป็นโลหะกับกระดานหลัง (กระจกหรือวัสดุโปร่งใสอื่น)
อย่างไรก็ตาม ช่องว่างจะต้องแคบพอเพื่อป้องกันนิ้วมือเข้าไปเกี่ยว
- ขอบบนสุดของห่วงแต่ละข้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งตามแนวนอน สูง 3.05 เมตร จากพื้นสนามซึ่งกระดานหลังมีความสูง
เท่ากันทั้ง 2 ด้าน
- จุดที่ใกล้ที่สุดของขอบในของห่วงจะต้องห่าง 15 เซนติเมตร จากด้านหน้าของกระดานหลัง

2 ห่วงที่มีแรงอัด อาจจะใช้ในการแข่งขันได้

3 ตาข่าย (The nets) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- เป็นด้ายสีขาว แขวนติดกับห่วงและมีความฝืดเพื่อทำให้ลูกบอลผ่านห่วงประตูช้ากว่าปกติ ตาข่ายต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า
40 เซนติเมตร และไม่เกิน 45 เซนติเมตร
- ตาข่ายแต่ละข้างต้องมีห่วง 12 จุด สำหรับเกี่ยวติดกับห่วง
- ส่วนบนของตาข่ายต้องยืดหยุ่นได้เพื่อป้องกันสิ่งต่อไปนี้
- ตาข่ายเกี่ยวติดห่วง สะบัดขึ้นไปบนห่วงทำให้เกิดปัญหาตาข่ายเกี่ยวติดห่วง
- ลูกบอลค้างในตาข่ายหรือกระดอนออกจากตาข่าย


ชุดที่ผู้เล่นสวมใส่จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้

- เสื้อทีม จะเป็นสีเดียว มีลักษณะทึบสม่ำเสมอเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ต้องสวมใส่โดยผู้เล่นทุกคนในทีมนั้นเสื้อที่มีลายทางแบบริ้วลายจะไม่อนุญาตให้ใช้
- กางเกงขาสั้น จะเป็นสีเดียว มีลักษณะทึบสม่ำเสมอเหมือนกันทั้งทีม และจะต้องสวมใส่โดยผู้เล่นทุกคนในทีมนั้น
- เสื้อคอกลม ( ทีเชิ้ต ) อาจจะสวมใส่ได้ภายในเสื้อทีม แต่ถ้าสวมเสื้อคอกลมจะต้องใช้เสื้อคอกลมมีสีเดียว และให้เหมือนกับสีของเสื้อทีม
- ชุดชั้นในของกางเกง ที่ยื่นเลยต่ำกว่ากางเกงขาสั้น อาจจะสวมใส่ได้โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีสีเดียว และเหมือนกับกางเกงขาสั้น
ในกรณีที่เสื้อทีมมีสีตรงกันให้ทีมเหย้าเปลี่ยนสีเสื้อทีมเมื่อแข่งขันที่สนามกลาง หรือในทัวร์นาเมนต์ทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน และต้องเป็นชื่อแรกในใบบันทึกจะต้องเปลี่ยนสีเสื้อทีม เพราะในทัวร์นาเมนต์หนึ่งๆ แต่ละทีมจะต้องมีเสื้อทีมอย่างน้อย 2 ชุด คือชุดที่เป็นสีจาง และชุดที่เป็นสีเข้ม
สำหรับการแข่งขันที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ให้ทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน ( ทีมเหย้า ) สวมเสื้อสีจาง และทีมที่มีชื่อที่สอง ( ทีมเยือน ) สวมเสื้อสีเข้ม


ตำแหน่งของผู้เล่นและผู้ตัดสิน

ตำแหน่งของผู้ตัดสินจะถูกกำหนดโดยจุดสัมผัสกับพื้นสนามเมื่ออยู่ในอากาศจากการกระโดด จะมีสภาพเช่นเดียวกับตอนสัมผัสพื้นสนามครั้งสุดท้ายเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับเส้นขอบของสนามเส้นกลาง เส้นเขตกำหนดการยิงประตูเพื่อทำ 3 คะแนนเส้นโยนโทษ หรือเส้นกำหนดเขตโยนโทษ


การนับจังหวะที่หนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อ

1. เมื่อผู้เล่นได้ลูกบอล ถ้าเท้าใดเท้าหนึ่งถูกพื้นสนามในตอนที่ได้รับลูกบอล หรือ
2. เมื่อเท้าใดเท้าหนึ่ง หรือทั้งสองเท้าถูกพื้นสนามพร้อมกัน ภายหลังจากผู้เล่นได้รับลูกบอล ขณะที่เท้าทั้งสองข้างของผู้เล่นไม่ถูกพื้น ( เท้าพ้นพื้น เช่น ลอยตัวในอากาศ )
การนับจังหวะที่สอง จะเกิดขึ้นภายหลังจากการนับจังหวะที่หนึ่งแล้ว เมื่อเท้าใดเท้าหนึ่งหรือทั้งสองเท้าถูกพื้นสนามพร้อม ๆ กัน ผู้เล่นที่ได้หยุดในจังหวะที่หนึ่งของการนับช่วงจังหวะ จะไม่มีสิทธิ์เคลื่อนที่ต่อในจังหวะที่สอง เมื่อผู้เล่นได้หยุดตามกติกาแล้ว ถ้าเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ล้ำหน้ากัน ก็อาจจะหมุนตัวได้ แต่เท้าหลังเท่านั้นที่จะเป็นเท้าหลัก อย่างไรก็ตาม ถ้าเท้าทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกัน อาจจะใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้าหลักในการหมุน

การเลี้ยงลูกบอล

การเลี้ยงลูกบอลจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นได้ครอบครองลูกบอล แล้วทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่โดยการโยน ปัด หรือกลิ้งลูกบอลแล้วไปถูกลูกบอลอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะไปถูกผู้เล่นคนอื่น ในการเลี้ยงลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องถูกพื้นสนามภายหลังจากการทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ดังกล่าวแล้ว ผู้เล่นจะสิ้นสุดการเลี้ยงลูกบอลทันทีที่เขาได้สัมผัสลูกบอลด้วยสองมือพร้อมๆ กัน หรือทำให้ลูกบอลพักอยู่ในมือใดมือหนึ่งหรือทั้งสองมือ ไม่จำกัดว่าผู้เล่นจะต้องก้าวเท้ากี่ก้าว ขณะที่ลูกบอลไม่สัมผัสมือของเขา
ผู้เล่นจะต้องไม่เลี้ยงลูกบอลครั้งที่สองภายหลังการเลี้ยงลูกบอลครั้งแรกสิ้นสุดลง เว้นแต่ว่าได้เสียการครอบครองลูกบอลเพราะเหตุต่อไปนี้
1. ทำการยิงประตู หรือ
2. ถูกคู่แข่งปัดลูกบอลออกจากการครอบครอง หรือ
3. การส่งหรือการทำลูกบอลหลุดจากมือโดยบังเอิญ แล้วลูกบอลไปถูกผู้เล่นคนอื่น หรือผู้เล่นคนอื่นถูกลูกบอล ผู้เล่นที่โยนลูกบอลใส่กระดานหลังแล้วไปถูกลูกบอลอีกก่อนที่ลูกบอลจะถูกผู้เล่นคนอื่น เป็นการทำผิดกติกา เว้นแต่ผู้ตัดสินเห็นว่าเป็นการยิงประตู

การที่ลูกบอลออกนอกเขตสนาม

           ลูกบอลถูกทำให้ออกนอกเขตสนาม โดยผู้เล่นคนสุดท้ายที่ถูกลูกบอลก่อนที่ลูกบอลจะออกนอกเขตสนาม โดยถูกสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากผู้เล่น ผู้ตัดสินจะต้องแสดงสัญญาณอย่างชัดเจนว่าทีมใดจะได้ส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเขตสนามการทำให้ลูกบอลออกนอกเขตสนาม เป็นการทำผิดกติกา ผู้ตัดสินต้องขานลูกยึดเมื่อไม่แน่ใจว่าทีมใดทำให้ลูกบอลออกนอกเขตสนาม

คำอธิบาย กติกา การเปลี่ยนตัว

1. เมื่อเกิดการฟาวล์ การโยนโทษจะพิจารณาเป็นชุดหรือเป็นกลุ่มของการฟาวล์
คำนิยาม
ชุด อาจจะมีลักษณะดังนี้ คือ โยนโทษ 1 ครั้ง หรือโยนโทษ 1+1 หรือ โยนโทษ 2 ครั้ง หรือโยนโทษ 3 ครั้ง
กลุ่ม อาจจะมีลักษณะดังนี้ คือ
- โยนโทษ 1+1 และโยนโทษ 2 ครั้ง
- โยนโทษ 2 ครั้ง และโยนโทษ 2 ครั้ง + การครอบครองบอล
- โยนโทษ 1 ครั้ง และโยนโทษ 2 ครั้ง
- และการโยนโทษลักษณะผสมใด ๆ ของกลุ่มที่นอกเหนือจากนี้
2. ถ้าภายหลังได้เริ่มดำเนินการโยนโทษของกลุ่มการโยนโทษ แล้วปรากฏว่ามีการฟาวล์ หรือการทำผิดระเบียบเกิดขึ้นก่อนจะเริ่มเดินเวลาการแข่งขัน การลงโทษคือ การโยนโทษ ( ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ) การเล่นลูกกระโดด หรือการส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเส้นข้างอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็ให้เปลี่ยนตัวเพิ่มได้อีก
ตำแหน่งของผู้เล่นและผู้ตัดสิน
ตำแหน่งของผู้ตัดสินจะถูกกำหนดโดยจุดสัมผัสกับพื้นสนามเมื่ออยู่ในอากาศจากการกระโดด จะมีสภาพเช่นเดียวกับตอนสัมผัสพื้นสนามครั้งสุดท้ายเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับเส้นขอบของสนามเส้นกลาง เส้นเขตกำหนดการยิงประตูเพื่อทำ 3 คะแนนเส้นโยนโทษ หรือเส้นกำหนดเขตโยนโทษ
ตำแหน่งของผู้ตัดสินจะถูกกำหนดเหมือนกับผู้เล่น เมื่อลูกบอลถูกตัวผู้ตัดสินก็เสมือนกับถูกพื้นสนามในตำแหน่งที่ผู้ตัดสินยืน

ผู้เล่นสำรอง

 ผู้เล่นสำรองก่อนที่จะเข้าไปในสนามต้องรายงานตัวต่อผู้บันทึก และต้องพร้อมที่จะทำการแข่งขันได้ทันที โดยผู้บันทึกจะต้องให้สัญญาณทันทีที่มีบอลตาย และหยุดเวลาการแข่งขัน แต่ต้องกระทำก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นอีกครั้งหนึ่งภายหลังการทำผิดระเบียบ เฉพาะทีมที่ไม่ได้ทำผิดระเบียบคือ ทีมที่จะส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเขตสนามทางเส้นข้างมีสิทธิ์เปลี่ยนตัวผู้เล่น ถ้าได้มีสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิ์เปลี่ยนตัวได้ ผู้เล่นสำรองจะต้องรออยู่นอกเส้นข้างจนกว่าผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณจึงจะเข้าไปในสนามแข่งขันได้อย่างทันที
การเปลี่ยนตัวต้องเสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่มีการชักช้าโดยไร้เหตุผลอันควร ก็ให้เป็นเวลานอกแก่ทีมที่ล่าช้านั้นผู้เล่นที่จะเล่นลูกกระโดดจะไม่ให้เปลี่ยนตัวกับผู้เล่นคนอื่น
ผู้เล่นที่ได้เปลี่ยนตัวออกไปแล้วจะไม่ให้เข้าไปในสนามแข่งขันอีกในช่วงการเปลี่ยนตัวเดียวกันจะไม่ให้มีการเปลี่ยนตัวในกรณีต่อไป
1. ภายหลังการทำประตูได้ เว้นแต่ว่าได้มีการให้เวลานอก หรือมีการขานฟาวล์ หรือ
2. จากช่วงเวลาตั้งแต่ลูกบอลเข้าสู่การเล่นเพื่อการโยนโทษครั้งแรก หรือครั้งเดียว กระทั่งได้มีบอลตายอีกครั้งหนึ่งของช่วงเวลาการเดินนาฬิกาจับเวลาการแข่งขัน หรือกระทั่งมีการขานฟาวล์ หรือมีการกระทำผิดระเบียบก่อนจะเดินนาฬิกา การลงโทษสำหรับการโยนโทษ การเล่นลูกกระโดด หรือการส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกสนามทางเส้นข้าง
ข้อยกเว้น ในกรณีที่มีการทำฟาวล์ระหว่างการโยนโทษ จะอนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัวได้ แต่เฉพาะเมื่อการดำเนินการโยนโทษและการฟาวล์ก่อนหน้านั้นได้เสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น และก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นสำหรับโทษของการฟาวล์ครั้งใหม่ ภายหลังการโยนโทษครั้งเดียวหรือครั้งสุดท้ายได้ผล เฉพาะผู้โยนโทษเท่านั้น จะอนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้ โดยมีข้อแม้ว่าต้องขอเปลี่ยนตัวไว้ก่อนลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นเพื่อโยนโทษครั้งแรกหรือครั้งเดียวเท่านั้น ในกรณีนี้อีกฝ่ายหนึ่งอาจจะเปลี่ยนตัวได้คนหนึ่ง โดยมีข้อแม้ว่าได้ขอเปลี่ยนตัวไว้ก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นก่อนการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวนั้น ภายหลังจากที่ผู้บันทึกได้ให้สัญญาณเพื่อการเปลี่ยนตัว ไม่อาจจะบอกยกเลิกการขอเปลี่ยนตัวได้อีก อย่างไรก็ตาม จะขอยกเลิกการขอเปลี่ยนตัวได้ทุกเวลา ก่อนที่ผู้บันทึกจะให้สัญญาณว่ามีการขอเปลี่ยนตัว

ลักษณะของการดำเนินการแข่งขันต่อ

ภายหลังที่มีบอลตายด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม ให้ดำเนินการแข่งขันต่อไปนี้
1. ถ้าทีมใดทีมหนึ่งได้ครอบครองลูกบอลมาก่อน ให้ผู้เล่นของทีมนั้นได้ส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเส้นข้างใกล้กับจุดที่ บอลตายมากที่สุด
2. ถ้าไม่มีทีมใดได้ครอบครองลูกบอลมาก่อน ให้เล่นลูกกระโดดที่วงกลมใกล้กับจุดที่บอลตายมากที่สุด
3. หลังการฟาวล์
4. ภายหลังลูกยึด
5. ภายหลังการหมดเวลาแต่ละครึ่งหรือเวลาเพิ่มพิเศษ
6. ภายหลังลูกบอลออกนอกเขตสนาม
7. ภายหลังการทำผิดระเบียบ

สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญๆ ของฟีบ้า ผู้เล่นในทีมเดียวกันจะต้องปฏิบัติดังนี้

1. สวมรองเท้าซึ่งมีสีเหมือนกัน
2. สวมถุงเท้าซึ่งมีสีเหมือนกัน
ผู้เล่นออกจากเขตสนามแข่งขัน
จะไม่อนุญาตให้ผู้เล่นออกจากเขตสนาม เพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างไม่ยุติธรรม
หัวหน้าทีม หน้าที่ และอำนาจ
เมื่อมีเหตุจำเป็น หัวหน้าทีมจะต้องเป็นผู้แทนของทีมในสนามแข่งขันสามารถพูดกับผู้ตัดสินเพื่อขอคำอธิบาย หรือเพื่อขอทราบข้อมูลที่จำเป็น แต่ต้องกระทำด้วยความสุภาพ
ก่อนออกจากสนามแข่งขันด้วยเหตุอันควรใดๆ ก็ตาม หัวหน้าทีมต้องแจ้งต่อผู้ตัดสินที่หนึ่งว่าผู้เล่นคนใดจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมแทนขณะที่เขาออกจากสนามแข่งขัน

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ฟาล์วเทคนิคระหว่างช่วงพักการแข่งขัน

51.1 คำจำกัดความ
การฟาล์วเทคนิคอาจขานระหว่างช่วงพักการแข่งขันซึ่งเป็นช่วงก่อนเริ่มการแข่งขัน (20 นาที) และช่วงพักระหว่างช่วงการเล่น
พักครึ่งเวลา และช่วงพักก่อนเริ่มช่วงต่อเวลาพิเศษแต่ละช่วงพักการแข่งขันเริ่มตั้งแต่ 20 นาที ก่อนเริ่มเกมการแข่งขัน
หรือสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาดังขึ้นสำหรับการสิ้นสุดเวลาการเล่นของแต่ละช่วงการเล่น
ช่วงพักการแข่งขัน สิ้นสุดเมื่อ
- เริ่มการแข่งขันช่วงการเล่นที่ 1 ช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงต่อเวลาพิเศษ เมื่อลูกบอลถูกปัดในขณะเล่นลูกกระโดด
- เริ่มการแข่งขันช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 4 เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นหรือผู้เล่นลูกบอลในการส่งบอลเข้าเล่น

51.2 บทลงโทษ
ถ้าขานฟาล์วเทคนิค ต่อ
- สมาชิกของทีมมีสิทธิ์ลงแข่งขัน ให้ขานฟาล์วเทคนิคต่อสมาชิกของทีมนั้น เป็นการฟาวล์ของผู้เล่นและจะให้ฝ่ายตรงข้าม
ได้โยนโทษ 2 ครั้ง จะนับเป็นฟาล์ว 1 ครั้ง ของการฟาล์วทีม
- ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้เล่นที่เป็นผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีมขานเป็นฟาล์วเทคนิคต่อผู้ฝึกสอน และให้ฝ่ายตรงข้ามได้
โยนโทษ 2 ครั้ง จะไม่นับเป็นฟาล์ว 1 ครั้งของการฟาล์วทีม


51.3 วิธีการปฏิบัติ
หลังการโยนโทษสิ้นสุด ช่วงการเล่นและช่วงต่อเวลาพิเศษจะเริ่มด้วยการเล่นลูกกระโดที่วงกลมกลางหรือส่งบอลเข้าเล่นตามกติกา


เกิดเหตุ การชกต่อย

2.1 คำจำกัดความ
การชกต่อยเป็นการกระทบกระทั่งเกี่ยวกับร่างกายระหว่างบุคคล 2 คน หรือมากกว่า (ผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
และผู้ติดตามทีม) กติกาข้อนี้ประยุกต์ใช้เฉพาะ ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอนผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีม ซึ่งออกจากบริเวณที่นั่งของทีม
ระหว่างการชกต่อยหรือระหว่างสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การชกต่อย

2.2 กฎ

2.2.1 ผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีมซึ่งออกจากบริเวณที่นั่งของทีมระหว่างการชกต่อยหรือระหว่างสถานการณ์ใด ๆ
ซึ่งอาจนำไปสู่การชกต่อย จะถูกปรับให้เสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน

2.2.2 เฉพาะผู้ฝึกสอน และ/หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่อนุญาตให้ออกจากบริเวณที่นั่งของทีมระหว่างการชกต่อยหรือ
ระหว่างสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การชกต่อย เพื่อช่วยผู้ตัดสินควบคุมหรือระงับเหตุการณ์ให้กลับคือสภาพเดิม
ในสถานการณ์ ผู้ฝึกสอน และ/หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนจะไม่ถูกปรับให้เสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน

2.2.3 ถ้าผู้ฝึกสอน และ/หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ออกจากบริเวณที่นั่งของทีม และไม่ช่วยหรือไม่พยายามช่วยผู้ตัดสินควบคุมหรือ
ระงับเหตุการณ์ จะถูกปรับให้เสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน

2.3 บทลงโทษ

2.3.1 ไม่พิจารณาถึงการฟาล์วเสียสิทธิ์ของผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีม ถูกปรับเป็นเสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน ซึ่งออกจาก
บริเวณที่นั่งของทีม สัญลักษณ์การฟาล์วเทคนิค จะขานต่อผู้ฝึกสอน

2.3.2 ในกรณีที่สมาชิกของทั้ง 2 ทีม ถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ตามกติกาข้อนี้ และไม่มีการลงโทษของฟาล์วอื่น
จะเกิดสถานการณ์การเล่นลูกกระโดดขึ้น

2.3 การฟาล์วเสียสิทธิ์ทั้งหมดจะบันทึกตามที่อธิบายใน ข.8.3 และจะไม่บันทึกเป็นฟาล์วทีม 1 ครั้ง

 


ฟาล์วครั้งที่ 5 ของผู้เล่น

1 ผู้เล่นซึ่งกระทำฟาล์วครั้งที่ 5 ไม่ว่าจะเป็นฟาล์วบุคคลและ/หรือฟาล์วเทคนิค จะต้องรับรู้ข้อเท็จจริงนั้น
ต้องออกจากเกมการแข่งขันทันทีและเปลี่ยนตัวผู้เล่นภายในเวลา 30 วินาที

2 การฟาล์วโดยผู้เล่นซึ่งกระทำฟาล์วครั้งที่ 5 จะขามเป็นฟาล์วเทคนิคต่อผู้ฝึกสอน และบันทึกด้วยตัวอักษร “B”
ลงในใบบันทึกคะแนน

บทลงโทษของฟาล์วทีม


1 คำจำกัดความ

1.1 เมื่อทีมกระทำฟาล์วครบ 4 ครั้ง ซึ่งเป็นฟาล์วบุคคลหรือฟาล์วเทคนิคต่อผู้เล่นแต่ละคนของทีม จะได้บทลงโทษการฟาล์วทีม

1.2 การฟาล์วทีมทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างพักการแข่งขันจะพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งในการฟาล์วของช่วงการเล่น
หรือช่วงต่อเวลาพิเศษที่ตามมา

1.3 การฟาล์วทีมทั้งหมดที่กระทำในแต่ละช่วงต่อเวลาพิเศษจะพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งในการฟาล์วของช่วงการเล่นที่ 4

2.กฎ

2.1 เมื่อทีมได้บทลงโทษในการฟาล์ว ทีมที่ตามมาทั้งหมด ผู้เล่นกระทำฟาล์วบุคคลต่อผู้เล่นซึ่งไม่อยู่ลักษณะกำลังยิงประตู
บทลงโทษจะเป็นการโยนโทษ 2 ครั้ง แทนการส่งบอลเข้าเล่น

2.2 ถ้ากระทำฟาล์วบุคคลโดยผู้เล่นของทีมครอบครองบอลดี หรือของทีมที่ได้สิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่น
การกระทำฟาล์วนั้นจะไม่มีการโยนโทษ 2 ครั้ง

ผู้เล่นออกนอกสนามและลูกบอลออกนอกสนาม

1 คำจำกัดความ

1.1 ผู้เล่นออกนอกสนาม เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกพื้นหรือถูกวัตถุอื่นที่ไม่ใช่ผู้เล่นอยู่บนเส้นเหนือขึ้นไปหรือ
อยู่นอกเส้นเขตสนาม

1.2 ลูกบอลออกนอกสนาม เมื่อถูกสิ่งต่อไปนี้
- ผู้เล่นหรือบุคคลอื่น ซึ่งอยู่นอกสนาม
- พื้นหรือวัตถุอื่นที่อยู่บนเส้นเหนือขึ้นไปหรืออยู่นอกเส้นเขตสนาม
- สิ่งค้ำยันของกระดานหลังด้านหลังของกระดานหลัง หรือวัตถุอื่นที่อยู่เหนือขึ้นไป และ/หรืออยู่ด้านบนกระดานหลัง
2 กฎ

2.1 ลูกบอลถูกทำให้ออกนอกสนาม โดยผู้เล่นคนสุดท้ายถูกลูกบอลหรือถูกลูกบอลก่อนออกจากสนาม แม้แต่ถ้าลูกบอล
ออกนอกสนามโดยถูกสิ่งอื่นถือว่าผู้เล่นคนนั้น

2.2 ถ้าลูกบอลออกนอกสนามเพราะถูกผู้เล่นหรือลูกบอลไปถูกผู้เล่นซึ่งอยู่ในสนามหรืออยู่นอกสนาม ผู้เล่นคนนั้นเป็นผู้ทำให้
ลูกบอลออกนอกสนาม



ได้ประตูเมื่อไรและค่าของประตู

1 คำจำกัดความ

1.1 ได้ประตู เมื่อลูกบอลลงห่วงประตูจากด้านบนและค้างอยู่ในห่วงประตูหรือผ่านห่วงประตูลงมา

1.2 การพิจารณาว่าลูกบอลอยู่ในห่วงประตูเมื่อเห็นว่าบางส่วนของลูกบอลอยู่ภายในห่วงและอยู่ต่ำกว่าส่วนบนสุดของห่วง

2 กฎ

2.1 ให้ประตูกับทีมฝ่ายรุกที่เข้ายิงประตูซึ่งโยนลูกบอลลงห่วงประตู ดังต่อไปนี้
- ให้ประตูจากการโยนโทษ นับ 1 คะแนน
- ให้ประตูจากการยิงประตูบริเวณพื้นที่ยิงประตู 2 คะแนน นับ 2 คะแนน
- ให้ประตูจากการยิงประตูบริเวณพื้นที่ยิ่งประตู 3 คะแนน นับ 3 คะแนน

2.2 ถ้าบังเอิญยิงประตูตนเองลงห่วงประตูคะแนนจะบันทึกเป็นของหัวหน้าทีมฝ่ายตรงข้าม

2.3 ถ้าผู้เล่นจงใจ ยิงประตูตนเองลงห่วงประตูเป็นการทำผิดระเบียบและคะแนนไม่นับ
2.4 ถ้าผู้เล่นทำให้ลูกบอลเข้าห่วงประตูจากด้านล่างเป็นการทำผิดระเบียบ

ลักษณะการยิงประตู

1 ลักษณะการยิงประตูจะเริ่มเมื่อผู้เล่นเริ่มเคลื่อนที่ตามปกติก่อนปล่อยลูกบอล
และในการพิจารณาของผู้ตัดสินจะพิจารณาว่าผู้เล่นได้เริ่มความพยายามในการทำคะแนนในการโยนการยัดห่วง หรือการปัด
ให้ลูกบอลลงห่วงประตูฝ่ายตรงข้าม ลักษณะการยิงประตูนี้จะพิจารณาต่อไปจนกว่าลูกบอลหลุดออกจากมือขงผู้เล่นที่พยายามทำคะแนน
อาจถูกยึดแขนโดยฝ่ายตรงข้ามทำให้ไม่สามารถทำคะแนนได้ แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาของผู้ตัดสินจะพิจารณาความพยายามใน
การทำคะแนน ความพยายามนั้นไม่จำเป็นว่าลูกบอลจะหลุดจากมือของผู้เล่นหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างจำนวนก้าว
ของการเคลื่อนที่และลักษณะกำลังยิงประตู

2 ในกรณีของผู้ยิงประตูกระโดดลอยตัวอยู่ในอากาศการกระทำของการยิงประตูยังคงต่อเนื่อง จนกระทั่งความพยายามจะสิ้นสุด
(ลูกบอลหลุดออกจากมือของผู้ยิงประตู) และเท้าของผู้เล่นทั้ง 2 ข้าง ลงสู่พื้นเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม การครอบครองบอล
ของทีมสิ้นสุดเมื่อสุดบอลหลุดออกจากมือของผู้ยิงประตู
3 สำหรับการพิจารณาการฟาล์วต่อผู้เล่นที่อยู่ในลักษณะกำลังยิงประตูซึ่งการกระทำฟาล์วต้องเกิดขึ้น

การพิจารณาของผู้ตัดสินหลังจากผู้เล่นเริ่มเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องของแขนและ/ หรือบางส่วนของร่างกายในการพยายามยิงประตู
การเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง
- เริ่มต้นเมื่อลูกบอลอยู่ในมือของผู้เล่นและกำลังเคลื่อนที่ยิงประตูตามปกติขึ้นไปข้างบน
- อาจรวมถึงแขนของผู้เล่นและ/หรือการเคลื่อนที่ของร่างกายโดยผู้เล่นพยายามยิงประตูเพื่อทำคะแนน
- ความพยายามยิงประตูสิ้นสุด ถ้าเริ่มความพยายามเคลื่อนที่ใหม่
ถ้าหลักการเกี่ยวกับการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องตรงกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ให้พิจารณาว่าผู้เล่นอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู

การเล่นลูกกระโดด

1.1 คำจำกัดความ
1.1.1
การเล่น ลูกกระโดด เป็นวิธีการทำให้เป็นบอลดี เริ่มเมื่อผู้ตัดสินโยนลูกบอลขึ้นระหว่างผู้เล่นต่างฝ่ายกัน 2 คน
ในวงกลมกลางสนามของแต่ละครึ่งเวลาหรือช่วงต่อเวลาพิเศษทุกช่วง ไม่มีผู้เล่นคนในครอบครองบอลได้ โดยปราศจากความรุนแรง
1.1.2
วิธีการปฏิบัติ สำหรับการดำเนินการเล่นลูกกระโดด
1.2.1
ผู้เล่นลูกกระโดดแต่ละคนจะยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างภายในครึ่งวงกลม
ซึ่งอยู่ใกล้กับห่วงประตูของทีมตนเองโดยเท้าข้างหนึ่งอยู่ใกล้เส้นกลางของวงกลม